วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กรณีบทที่ 10

ตัวอย่างที่ 1 : บริษัท แคททิพัลลาร์ (Caterpilar : CAT) กับระบบสารสนเทศเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

บริษัทแคททิพิลลาร์ หรือ CAT ตั้งอยู่ที่รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทดำเนินธุรกิจเครื่องจักรในการก่อสร้างชั้นนำระดับโลก ตัวอย่างสินค้า เช่น รถแทร็กเตอร์ รถแบ็คโฮ ฯลฯ ในปี พ.ศ. 2524 บริษัทต้องพบกับปัญหาในการแข่งขันอย่างรุนแรงจากคู่แข่งที่สำคัญอย่างโคมัตซึ (Komatsu) ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนำรถแทร็กเตอเกลี่ยดินออกขายในสหรัฐอเมริกาด้วยราคาที่ต่ำกว่าของบริษัทถึง 40% ทำให้ CAT ต้องตัดสินใจตัดราคาลง ประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำ มีการประท้วงด้านแรงงานเป็นเวลานาน ยิ่งทำให้สถานการณ์ของบริษัทเลวร้ายลงไป ผลประกอบการของบริษัทในปี พ.ศ. 2528 ขาดทุนสะสมถึง 953 ล้านเหรียญสหรัฐ บริษัทจึงตัดสินใจปิดโรงงาน ให้พนักงานออกและตัดค่าใช้จ่าย แต่การแก้ปัญหาโดยวิธีนี้กลับไม่ได้ผลเพราะส่วนแบ่งตลาดลดลงและขาดทุนเพิ่มขึ้น เมื่อวิเคราะห์ถึงสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้บริหารจึงตัดสินใจนำไอทีมาแก้ปัญหาเนื่องจากมองเห็นว่าเป็นเพียงแนวทางเดียวที่จะสามารถแก้ปัญหาได้ โดยในระยะแรกมีการนำโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในบริษัทซึ่งใช้เวลา 8 ปีและใช้การลงทุนถึง 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ระบบที่ CAT นำมาใช้ในโรงงานต่าง ๆ เช่น # หุ่นยนต์ (Robots # ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (Computer-Aided Design : CAD) # ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (Computer-Aided Manufacturing :CAM) # ระบบอื่น ๆ เช่น ระบบวางแผนและบริหารการผลิต (Manufacturing Resource Planning : MRPII) ระบบจัดซื้อ (Purchasing System) และระบบโลจิสติกส์ (Logistics System) สิ่งที่ CAT ได้รับจากการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้มาใช้ คือ > สามารถลดสินค้าที่ต้องจัดเก็บในคลังได้ 60% และประหยัดค่าใช้จ่ายหลายล้าน เหรียญ สหรัฐ โดยไม่จำเป็นต้องปลดพนักงงานออก
> กระบวนการผลิตง่ายขึ้น
> ทำการปิดโรงงานหรือคลังสินค้าใดที่มีค่าใช่จ่ายสูง
> เวลาในการผลิตสินค้าลดลงจาก 45 วัน เป็น 10 วัน
> การส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ตรงเวลาเพิ่มขึ้น 70 %
นอกจากนั้นบริษัทยังนำระบบจัดการซ่อมบำรุงและจัดหาชิ้นส่วนทดแทนมาใช้กับตัวแทนขาย (Dealers) และลูกค้า (Customers) ซึ่งระบบนี้ช่วยให้ตัวแทนขายสามารถหาชิ้นส่วนให้กับลูกค้าได้รวดเร็วขึ้นและช่วยให้สินค้าคงคลังอยู่ในระดับที่ต่ำ สำหรับระบบงานด้านไอทีที่สำคัญอื่น ๆ เช่น # ทำการเชื่อมโยง (Global Network) เทอร์มินัล 7,000 เครื่อง เข้ากับพนักงาน 50,000 คนและ ตัวแทนขาย 180รายใน 1,000 แห่ง ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงผ่านไฟเบอร์ออปติกและดาวเทียม และ เป็นการรองรับงานที่เกียวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) อินเทอร์เน็ต ระบบงานสื่อสารอื่น ๆ รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้านอินทราเน็ต # ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information System : EIS) เพื่อช่วยในการ วิเคราะห์ หาแนวโน้ม และประเมินการดำเนินงานของตัวแทนขาย # ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) สำหรับตัวแทนขายและลูกค้า # ระบบอินทราเน็ต (Intranet) โดยพนักงานของ CAT ประมาณ 95% สามารถเข้าถึงข้อมูลของ องค์การ ในปี ค.ศ. 1993 บริษัท CAT พลิกสถานการณ์กลับกลายมาเป็นบริษัทที่แข็งแกร่งกว่าคู่แข่งขัน สามารถควบคุมตลาดเครื่องจักรสำหรับการก่อสร้างในสหรัฐอเมริกาได้มากกว่า 90% และถึงแม้ว่าบริษัทสามารถขายสินค้าในตลาดต่างประเทศได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของยอดขายทั้งหมด แต่ยังสามารถรักษางานและโรงงานในสหรัฐอเมริกาได้ ผลจากความพยายามของบริษัททำให้ได้รับรางวัล “Excellence in IS” จาก information Week’s 1991 และมีผลต่อคู่แข่งขันรายใหญ่อย่างโคมัตซึเปลี่ยนกลยุทธ์จากรถเกลี่ยดินเพื่อเลี่ยงการชนกับ CAT ด้วยชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีด้านเครื่องจักรสำหรับการก่อสร้าง บริษัทให้ลิขสิทธิ์การใช้เครื่องหมายการค้า “Caterpilar” กับบริษัทที่ผลิตผลิตสินค้าแฟชั่น เช่น เสื้อแจ็คเก็ตและรองเท้า ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นเครื่องแต่งกายของคนงาน แต่ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดในการสร้างภาพลักษณ์ของเครื่องแต่งกายว่าเหมาะสมกับผู้ใส่ที่มีบุคลิกแข็งแกร่งบึกบึนเหมือนรถแบคโฮ สินค้าดังกล่าวกลับได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มวัยรุ่น ทำให้ยอดขายเสื้อผ้าสูงถึงปีละ 35,000 ล้านบาทและยอดขายรองเท้าถึงปีละ 8 ล้านคู่ (Turban, el al., 2001 : 75)


คำถาม

1. คู่แข่งที่สำคัญของบริษัทแคททีพิลลาร์คือบริษัทใด
ตอบ บริษัทโคมัสซึ (Komatsu) ของประเทศญี่ปุ่น
2. ระบบสารสนเทศช่วยให้บริษัทได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างไร
ตอบ บริษัท Cat พลิกสถานการณ์กลับกลายมาเป็นบริษัทที่แข่งแกร่งกว่าคู่แข่งสามารถควบคุมตลาดเครื่องจักรสำหรับการก่อสร้างในสหรัฐอเมริกาได้มากกว่า 30% และถึงแม้ว่าบริษัทสามารถขายสินค้าในตลาดต่างประเทศได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของยอดขายทั้งหมด แต่ยังสามารถรักษางานและโรงงานในสหรัฐอเมริกาได้และยังช่วย ลดเวลาในการผลิต กระบวนการในการผลิตง่ายขึ้น ส่งสินค้าได้รวดเร็ว ตรงเวลา และช่วยวิเคราะห์ หาแนวโน้ม และประเมินการดำเนินงานต่าง ๆ




ตัวอย่างที่ 2 ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ( 7 – eleven) ในประเทศญี่ปุ่นบริษัทอิโตะ โยคาตะ ( lto-Yokada)

เป็นบริษัทที่สามารถทำกำไรๆได้สูงสุดในธุรกิจค้าปลีกของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2517 บริษัทซื้อลิกขสิทธิ์การทำธูรกิจร้านสะดวกซื้อแบบค้าปลีก ( 7 – eleven) จากบริษัทเซาเธิร์นคอร์เปอร์เรชัน ( Southern Coration) ที่ตั้งอยู่ในรัฐเท็กซัล สหรัฐอเมริกาและเปิดร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น( 7 – eleven) ร้านแรกในญี่ปุ่นในเดือนพฤษภาคม 2517 กิจการของบริษัทประสบความสำเร็จเป็นไปอย่างดีและได้ขยายสาขาเป็น 5,000 ร้านในญี่ปุ่น ในขณะเดียวกันเซเว่น-อีเลฟเว่น ที่เป็นบริษัทแท่ซึ่งก็คือ บริษัทเซาเธิร์นคอร์เปอร์เรชัน ได้ทำการขยายเครือข่ายออกไปเช่นกัน แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จนักทำให้บริษัทมีหนี้สินจำนวนมากจนในกระทั่งในปี พ.ศ. 2533 บริษัทอิโตะ โยคาตะ ได้เข้าซื้อกิจการ 70 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทเซาเธิร์นคอร์เปอร์เรชันในช่วงที่ เซเว่น-อีเลฟเว่น ในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาและสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากนั้น เซเว่น-อีเลฟเว่น ในประเทศญี่ปุ่นกลับสามารถทำกำไรได้มากกว่า 40 เปอร์เซ็นของยอดขายหรือคิดเป็นกำไร 680 ล้านเหรียญของยอดขาย 1.44 พันล้านดอลลาร์ และเป็นกำไรที่มากกว่ากำไรของเซเว่น-อีเลฟเว่นประเทศอื่น อะไรที่ทำให้เซเว่น-อีเลฟเว่นในประเทศบริษัทญี่ปุ่นประสบความสำเร็จอย่างมาก ในขณะที่บริษัทแม่ในสหรัฐอเมริกากำลังจะล้มละลาย คำตอบก็คือบริษัทอิโตะ โยคาดา ใช้ระบบสารสนเทศในการมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลักบริษัทอิโตะ โยคาดาลงทุนในระบบสารสนเทศ 200 ล้านเหรียญดอลลาร์สำหรับร้านค้าย่อยของเซเว่น-อีเลฟเว่นในช่วงปี พ.ศ. 2533 โดยมีเป้าหมาย คือ1) ค้นพบให้ได้ว่าใครเป็นลูกค้าของร้านและลูกค้ามีความต้องการอะไร2) พัฒนาระบบติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้าระบบสารสนเทศนี้จะวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้า ซึ่งพนักงานขายหน้าร้าน เซเว่น-อีเลฟเว่น จะทำการบันทึกข้อมูลของลูกค้า เช่น เพศ และคาดการอายุทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้า สำหรับข้อมูลอื่นๆ อย่างเช่นประเภทสินค้า จำนวนสินค้า ราคาสินค้า ตำแหน่งที่ตั้งของร้าน จะถูกนำเข้าระบบโดยอัตโนมัติด้วยวิธีนี้ทำให้บริษัททราบว่า ใครซื้ออะไรที่ไหน และเวลาใดของวัน สามารถทำให้ติดตามและวิเคราะห์ความชอบของลูกค้า นอกจากนั้นพนักงานขายในร้านยังบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ลูกค้าอยากจะซื้อแต่ไม่มีจำหน่ายในร้าน ด้วยวิธีนี้ช่วยให้ทางร้านสามารถเลือกซื้อสินค้าเข้าร้านและมีจำนวนสินค้าที่เหมาะสมและยังสามารถปรับปรุงดัดแปลงสินค้าหรือผลิตสินค้าเป็นพิเศษกับความต้องการของลูกค้านอกจากนี้เซเว่น-อีเลฟเว่น ยังมีระบบสารสนเทศที่ช่วยให้ข้อมูล ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดของทางร้านเป็นอย่างดี ด้วยระบบสารสานเทศที่เรียกว่า “Time – Distribution System “ ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและเข้าใจพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของลูกค้า ทำให้ทางร้านรู้ว่าความต้องการสินค้าของลูกค้าแต่ละแห่ง ละความต้องการในช่วงเช้าและบ่ายแตกต่างกัน ข้อมูลนี้ช่วยให้ผู้จัดการร้านสามารถเลือกสินค้ามาวางหน้าร้านในช่วงเช้าและบ่ายได้อย่างเหมาะสมเนื่องจากทางร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น แต่ละร้านมีพื้นที่อย่างจำกัดและพื้นที่มีราคาแพง ระบบจึงช่วยให้ เซเว่น-อีเลฟเว่น ใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทำให้ยอดขายและความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มขึ้น( Turban, et al.,2001:109)



คำถาม

1. ปัจจัยใดที่ทำให้ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่นในประเทศญี่ปุ่นประสบความสำเร็จ

ตอบ คำตอบก็คือ บริษัทอิโตะ โยคาดะ ใช้ระบบสารสนเทศในการมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก คือระบบสารสนเทศนี้จะวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้า ซึ่งพนักงานขายหน้าร้าน จะทำการบันทึกข้อมูลของลูกค้า เช่น เพศ และคาดการอายุทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้า สำหรับข้อมูลอื่นๆ อย่างเช่นประเภทสินค้า จำนวนสินค้า ราคาสินค้า ตำแหน่งที่ตั้งของร้าน จะถูกนำเข้าระบบโดยอัตโนมัติด้วยวิธีนี้ทำให้บริษัททราบว่า ใครซื้ออะไรที่ไหน และเวลาใดของวัน สามารถทำให้ติดตามและวิเคราะห์ความชอบของลูกค้า นอกจากนั้นพนักงานขายในร้านยังบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ลูกค้าอยากจะซื้อแต่ไม่มีจำหน่ายในร้าน ด้วยวิธีนี้ช่วยให้ทางร้านสามารถเลือกซื้อสินค้าเข้าร้านและมีจำนวนสินค้าที่เหมาะสมและยังสามารถปรับปรุงดัดแปลงสินค้าหรือผลิตสินค้าเป็นพิเศษกับความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้เซเว่น-อีเลฟเว่น ยังมีระบบสารสนเทศที่ช่วยให้ข้อมูล ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดของทางร้านเป็นอย่างดี

''''''''''''
2. เหตุใดสารสนเทศเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าในช่วงเช้าบ่ายจึงมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ในประเทศญี่ปุ่น

ตอบ ช่วยให้ข้อมูล ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดของทางร้านเป็นอย่างดี ด้วยระบบสารสนเทศที่เรียกว่า “Time-Distribution System”ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและเข้าใจพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของลูกค้า ทำให้ทางร้านรู้ว่าความต้องการสินค้าของลูกค้าแต่ละแห่ง และความต้องการในช่วงเช้าและบ่ายแตกต่างกัน ข้อมูลนี้ช่วยให้ผู้จัดการร้านสามารถเลือกสินค้ามาวางหน้าร้านในช่วงเช้าและบ่ายได้อย่างเหมาะสม เพราะความต้องการในช่วงเช้าและบ่าย จะมีความต้องการที่แตกต่างกัน และต้องการสินค้าที่แตกต่างกัน จึงถือเป็นสิ่งสำคัญของร้านที่ไม่สามารถมองข้ามไปได้ ยังทำให้ข้อมูลนี้ช่วยให้ผู้จัดการร้านสามารถเลือกสินค้ามาวางหน้าร้านในช่วงเช้าและบ่ายได้อย่างเหมาะสมเนื่องจากทางร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น แต่ละร้านมีพื้นที่อย่างจำกัดและพื้นที่มีราคาแพง ระบบจึงช่วยให้ เซเว่น-อีเลฟเว่น ใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ยังเป็นส่วนทำให้ยอดขายและความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มขึ้น

ตัวอย่างที่ 3 : ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ของบริษัทไฟเซอร์สืบเนื่องจากทีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพ บริษัทผลิตยาต่าง ๆ มีการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ซึ่งนอกจากจะจัดจำหน่ายยาแล้วยังรวบรวมและให้ข้อมูลด้านสุขภาพกับลูกค้าด้วย การจัดการด้านการดูแลสุขภาพทำให้บริษัทยาต้องเปลี่ยนแนวทางในการทำธุรกิจ โดยในอุตสาหกรรมยาจะมีการเคลื่อนเข้าสู่การบริหารองค์ความรู้ (Knowledge Management) หรือความสามารถในการนำข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในเชิงกลยุทธ์ บริษัทยาจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือทางกลยุทธ์เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สำคัญและเป็นการเพิ่มคุณค่าการบริการให้กับลูกค้าบริษัทไปเซอร์ (Pfizer) ได้นำระบบการขาย (Sales-force Automation) มาใช้โดยระบบนี้ช่วยให้ตัวแทนขายสามารถให้ข้อมูลกับแพทย์เกี่ยวกับราคา ผลข้างเคือง และประสิทธิผลของยา บริษัททำการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ากับซัพพลายเออร์และคู่ค้าของบริษัท รวมถึงการเชื่อมโยงห้องทดลองวิจัยของบริษัทผ่านเครือข่าย (Private Network) ที่เรียกว่า “VendorGate” เข้ากับคู่สัญญาทั่วโลก

คำถาม

1. การที่พนักงานขายมีความรู้เกี่ยวกับผลข้างเคืองและประสิทธิผลของยามีความสำคัญต่อบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer Pharmaceutical) อย่างไร
ตอบ เป็นผลดีต่อบริษัท เมื่อพนักงานมีความรู้ในตัวยาก็สามารถทำให้เขาให้ข้อมูลในสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้ด้วยความถูกต้องแม่นยำไม่เกิดข้อผิดพลาด ทำให้ลูกค้าไว้วางใจและมีความเชื่อถือ ช่วยลดความผิดพลาดในเรื่องของการให้ยาผิด

2. บริษัทไฟเซอร์มีการเพิ่มคุณภาพของการบริการให้กับลูกค้าอย่างไร
ตอบ ใช้สารสนเทศมาเป็นเครื่องมือทางกลยุทธ์เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สำคัญ มีการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอิรเทอร์เน็ต



กรณีศึกษาที่4 กลยุทธ์การบริหารสายการบินราคาประหยัดในแบบของ “นกแอร์”
สายการบินนกแอร์ เป็นสายการบินราคาประหยัดสัญชาติไทย โดยมีบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ กลยุทธ์ที่นกแอร์นำมาใช้มีดังนี้กลยุทธ์ 1 การบินระยะสั้นจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เป็นกลยุทธ์ที่ให้เครื่องบินสามารถบินอยู่ในอากาศมากที่สุดเพื่อให้เกิดรายได้ ถ้าบินยิ่งมาก ค่าเฉลี่ยต้นทุนของเครื่องก็จะต่ำลงกลยุทธ์ 2 การใช้เครื่องบินประเภทเดียว นกแอร์ใช้เครื่องบินโบอึ้ง 737-400 แบบเดียว เพื่อลดค่าใช้จ่ายในเครื่องการดูแลรักษาเครื่องบิน และการฝึกอบรมพนักงานกลยุทธ์ 3 การจำหน่ายตั๋วเครื่องบินออนไลน์ เป็นการลดค่าใช้จ่ายพนักงานในการให้บริการ และสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงกลยุทธ์ 4 การสำรองที่นั่ง ได้ เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการแข่งขันที่สร้างความแตกต่างจากสายการบินราคาประหยัดอื่น ๆ ลูกค้าสามารถจองที่นั่งผ่านเว็บไซค์ได้อย่างสะดวกกลยุทธ์ 5 การตั้งหลายราคา โดยจะตั้งราคาต่ำกว่าหากลูกค้ามีการวางแผนการเดินทางและจองตั๋วล่วงหน้า ส่วนลูกค้าที่ตัดสินใจช้าจะต้องซื้อตั๋วในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งในส่วนนี้นกแอร์ได้ใช้ระบบไอทีที่เรียกว่า Revenue Management System มาช่วยวิเคราะห์และวางแผนการขายกลยุทธ์ 6 สายการบินราคาประหยัด เป็นการลดค่าใช้จ่ายด้วยการงดให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม หากลูกค้าบางท่านต้องการ นกแอร์ก็มีบริการในราคาที่เหมาะสมด้วยกลยุทธ์ 7 เอาต์ซอร์ส เป็นการให้พาร์ตเนอร์มาให้บริการแทนเพื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของพนักงานที่ต้องให้บริการ เช่น คอลล์เซ็นเตอร์กลยุทธ์ 8 การเพิ่มรายได้จากส่วนอื่น ๆ นกแอร์เลือกใช้กระดาษและเครื่องพิมพ์ Boarding Pass ถึงแม้ว่าจะมีต้นทุนที่สูงกว่ากระดาษธรรมดา แต่ก็สามารถเพิ่มรายได้จากการขายโฆษณาด้านหลังของ Boarding Pass ได้กลยุทธ์ 9 การลดต้นทุนด้วยการใช้ไอที นกแอร์ได้นำไอทีเข้ามาช่วยการดำเนินงานทุกส่วนทั้งระบบฟรอนด์เอนด์และเบ็กเอนด์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของคนและงานที่เป็นแบบแมนนวลลงกลยุทธ์ 10 การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า นกแอร์มุ่งให้บริการที่ดีเยี่ยมเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้โดยสาร สร้างความประทับใจเพื่อลูกค้าจะได้กลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

คำถาม

1. สายการบินนกแอร์มีการนำไอทีมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขันอย่างไรบ้า'

ตอบ มีการขายตั๋วออนไลท์ สามารถจองที่นั่งผ่านทางเว็บไซต์ นำระบบRevenue Management System มาช่วยในการวิเคราะห์และวางแผนการขาย

2. จากกรอบแนวคิดของไวส์แมน สายการบินนกแอร์มีการใช้ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ในด้านใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

ตอบ กลยุทธ์สร้างความแตกต่างความแตกต่าง มีการขายตั๋วออนไลท์ สามารถจองที่นั่งผ่านทางเว็บไซต์ กลยุทธ์ด้านราคา คือ มีหลากหลายราคา

ไม่มีความคิดเห็น: